16 ตุลาคม 2551

ความสมดุลย์ของภาพ

การ จัดองค์ประกอบภาพด้วยการจัดความสมดุลย์ให้กับวัตถุ หรือ สิ่งต่างๆ ในภาพ โดยอาศัยการรับรู้ถึง "น้ำหนัก" และตำแหน่งของวัตถุต่างๆ ที่อยู่ภายในภาพนั้นๆ โดยอาศัยหลักการ คานดีด - คานงัด โดยมีตำแหน่งกึ่งกลางภาพเป็นจุดศูนย์กลางของตัวคานน้ำหนัก




โดยให้ท่าน จินตนาการดูว่าคานอันหนึ่งวางพาดอยู่กลางภาพ โดยมีจุดหมุนอยู่กึ่งกลางของตัวคาน วางวัตถุลงบนตัวคานทั้ง 2 ด้าน หลักการคือ การพยายามจัดองค์ประกอบ(วัตถุ) ลงในภาพโดยให้มีความรู้สึกถึงความสมดุลย์ของคานทั้ง 2 ฝั่ง



การรับรู้น้ำหนักของวัตถุจากคนดู ขณะดูภาพ

วัตถุ ขนาดใหญ่จะมีน้ำหนักในภาพมากกว่าวัตถุที่มีขนาดเล็ก แต่ถ้าวัตถุที่มีขนาดเล็กกว่า หากวางในจุดที่อยู่ห่างออกไปจากจุดกึ่งกลางของคาน ในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็จะสามารถสร้างดูมีพลังและน้ำหนักได้มากยิ่งขึ้นกว่าปรกติ เพื่อนำถ่วงดุลกับวัตถุที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่อยู่ดีกด้านหนึ่งของคานได้




การรับรู้ถึงน้ำหนักมาก
1) วัตถุมีขนาดใหญ่
2 ) วัตถุมีสีเข้ม
3 ) ตำแหน่งของวัตถุอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางภาพ

การรับรู้ถึงน้ำหนักน้อย
1 ) วัตถุมีขนาดเล็ก ( หรือเป็นที่ว่างในภาพ )
2 ) วัตถุมีสีอ่อน
3 ) อยู่ใกล้กับจุดศูนย์กลางของภาพ













ดังนั้นในการจัด องค์ประกอบของภาพนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงกฏสามส่วนแล้ว ควรจะนึกภาพตาช่างเสมือน ไว้ในใจเสมอ โดยพยายามวางวัตถุต่างๆ เพื่อให้มีการถ่วงดุลย์ ไม่จำเป็นต้องเอาวัตถุใหญ่ๆ 2 อันมาวางไว้ทั้ง 2 ด้านของคานเพื่อให้น้ำหนักหรือสมดุลย์ของภาพเท่ากัน แต่เป็นเรื่องของความเหมาะเจาะพอดีของ ( ขนาดวัตถุ / สีสัน / โทนความเข้มอ่อนของวัตถุ ) ก็ได้